นักวิ่ง กับหน้าแข้ง
อาการบาดเจ็บที่หน้าแข้งหรือ Shin Splints
เป็นอาการบาดเจ็บที่มักจะพบได้ทั่วไปในนักวิ่ง
อาการเจ็บมีทั้งแบบเจ็บบริเวณหน้าแข้งด้านหน้า
(Anterior Shin splints) และเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ
ด้านหลังหน้าแข้ง(Posterior medial shin splints )
อาการเจ็บหน้าแข้งมักจะเกิดขึ้นกับนักวิ่งหน้าใหม่
เพราะว่าพวกเขามักจะเร่งรีบจนมากเกินไป
(Too much too soon) อาการเจ็บหน้าแข้ง
มักจะมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อน่องที่ตึงเกินไป
และกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้งที่อ่อนแอ
นอกจากนี้การวิ่งบนพื้นผิวที่แข็งเกินไปและการลงน้ำหนัก
บริเวณฝ่าเท้าผิดตำแหน่ง ก็เป็นสาเหตุ
ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าแข้งได้เช่นกัน
เรามีเคล็ดลับในการป้องกันอาการเจ็บหน้าแข้งมาฝาก
✅ อย่าเพิ่มระยะทางในการวิ่งแต่ละวันเร็วเกินไป
การเพิ่มระยะทางการวิ่งมากเกินไปในแต่ละวันอย่างรวดเร็ว ทำให้กล้ามเนื้อของคุณไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ คุณควรจะใช้เวลาพักกล้ามเนื้อ และออกกำลังกาย
ด้วยการยืดกล้ามเนื้อและเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง ให้แข็งแรงขึ้น
✅ วิ่งบนพื้นผิวที่นุ่มเมื่อเป็นไปได้
การวิ่งบนพื้นผิวที่นุ่มจะช่วยลดแรงกระแทก
ที่เกิดขึ้นต่อกล้ามเนื้อและข้อต่อ ลองหาพื้นผิวสำหรับวิ่ง
ที่นุ่มขึ้นอย่างเช่นพื้นหญ้าหรือดินที่นุ่มกว่า
การวิ่งบนเครื่องวิ่งก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดี
โดยเฉพาะสำหรับการเพิ่มระยะทางมากขึ้นกว่าปกติ
ดังนั้น คุณอาจจะฝึกซ้อมด้วยการวิ่งบนเครื่องวิ่ง
1-2วันต่อสัปดาห์
✅ ซ้อมหนักก็ต้องพักให้พอ
ในตารางการฝึกซ้อมของคุณ
ไม่ควรจะมีวันที่คุณวิ่งสองวัน
ติดต่อกันโดยเฉพาะหากคุณเป็นนักวิ่งหน้าใหม่
ควรจะมีวันพักผ่อนสำหรับกล้ามเนื้อและข้อต่อร่างกาย
อย่างน้อยสองวันต่อหนึ่งสัปดาห์
✅ เลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้าและประเภทของการวิ่ง
การใส่รองเท้าที่หมดสมรรถภาพทำให้เจ็บหน้าแข้งได้
ซึ่งคุณควรจะเปลี่ยนรองเท้าทุกๆ 500 กิโลเมตร
เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปร่างของฝ่าเท้าของคุณเอง
คุณอาจจะลองใส่ที่เสริมรองเท้าบริเวณส้นเท้า
เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อน่องยืดมากเกินไป
และควรเช็คแล้วลักษณะการวิ่งของตัวเองว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะการที่คุณเอนตัวไปข้างหน้ามากเกินไปขณะลงน้ำหนัก จะทำให้เจ็บหน้าแข้งได้
✅ ฝึกยกนิ้วเท้าเพื่อป้องกันการเจ็บหน้าแข้ง
หากคุณเคยมีประสบการณ์ในการเจ็บหน้าแข้ง
นั่นอาจจะเป็นเพราะว่ากล้ามเนื้อหน้าแข้งของคุณอ่อนแอ
ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้จะอยู่บริเวณด้านหน้าของหน้าแข้ง
ตรงท่อนขาด้านล่าง
กล้ามเนื้อส่วนนี้มักจะไม่พัฒนาเป็นพิเศษ
สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิ่ง
คุณควรหาท่าบริหารกล้ามเนื้อส่วนนี้
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อที่จำเป็นตรงนี้เป็นพิเศษ
✅ หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าและปลายเท้า
จุดที่ดีที่สุดที่จะลงน้ำหนักเวลาวิ่งคือ บริเวณกลางฝ่าเท้า
ควรจะลงน้ำหนักที่บริเวณกลางฝ่าเท้าและไล่น้ำหนักไปยังปลายเท้า
หากคุณลงน้ำหนักที่บริเวณส้นเท้า จะเป็นการสร้างภาระให้กับข้อต่อ และกล้ามเนื้อซึ่งจะได้รับแรงกระแทกอย่างมาก และยังเป็นการหยุดความต่อเนื่องในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของการวิ่งของคุณเองด้วย
เช่นเดียวกัน การลงน้ำหนักที่ปลายเท้าก็จะสร้างภาระ
ให้กับกล้ามเนื้อหน้าแข้งเป็นอย่างมาก
วิธีหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้คุณลงน้ำหนักที่กลางเท้าได้
ก็คือการทดลองวิ่งด้วยเท้าเปล่าหรือเท้าที่สวมถุงเท้า
โดยไม่ต้องใส่รองเท้า โดยการฝึกเป็นระยะเวลาสั้นๆในแต่ละวัน จะช่วยให้ร่างกายคุณค้นหาจุดลงน้ำหนักที่เหมาะสมได้ เพิ่มเวลาการฝึกให้มากขึ้นในแต่ละวันเพื่อความแม่นยำ
✅ ยืดกล้ามเนื้อน่อง
ห่ารู้สึกเจ็บบริเวณหน้าแข้งขณะวิ่ง คุณอาจจะลองยืดกล้ามเนื้อ
บริเวณน่องด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อน่อง
หากไม่ใช่การเจ็บหน้าแข้งและคุณรู้สึกแย่ลงขณะวิ่ง
คุณควรจะหยุดวิ่ง
⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️
✍️บทความจาก : www.verywellfit.com
 
 
จากพวกเรา #2XUThailand